ราชบุรี ปิดบริษัท จดทะเบียนปิดบริษัท ชำระบัญชี ทำงบเลิก ตรวจสอบ พร้อมนำยื่น
เราให้บริการ จดทะเบียนปิด เลิกบริษัท ห้างหุ้นส่วน ครอบคลุม การวางแผน ประเมินภาระทางภาษี และ อื่นๆ เราบริการได้ทั่วประเทศ
เราเชี่ยวชาญ ในการ ปิดบริษัท เลิกบริษัท เฉลี่ยปีละ 30 ราย กว่า 15 ปี หรือ มากกว่า 200 ราย มีผู้สอบบัญชี ปฏิบัติงานเต็มเวลา
โทร 080 175 2000
ค่าบริการ แบบ ท่านยื่นเอง เราเตรียมเอกสารจดทะเบียน และให้ความช่วยเหลือทางโทรศัพท์ ประกอบด้วย
เตรียมแบบจดทะเบียน เลิกบริษัท/ ปิดบริษัท 2,000 บาท
เตรียมแบบจดทะเบียน เสร็จชำระบัญชี/ จดเสร็จบริษัท 2,000 บาท
งบการเงิน และสอบบัญชี งบเลิก/ งบชำระบัญชี 4,000 บาท (กรณีงบเปล่า - ไม่ดำเนินงาน - ยอดยกมาไม่ม่สาระสำคัญ)
รวม 8,000 บาท
ระยะเวลา ปกติหากท่าน เป็นงบเปล่า หรือไม่เดำเนินงาน สรรพากร จะไม่ตรวจ หรือ ไม่ระงับการจดทะเบียนเลิก ตามเงื่อนเวลาที่กฎหมายกำหนด ก็จะเสร็จภายใน 3 อาทิตย์
กรณีสรรพากร ตรวจสอบ ผู้ดูแลบัญชีและภาษี ต้องเข้าให้การ และอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบ ด้วยเหตุนี้ การจดทะเบียนเลิก/ ปิดบริษัท จะใช้เวลานานขึ้น ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าทีสรรพากรว่าจะ ยกเลิกการคัดค้าน เมื่อไหร่
กรณีท่านมีหนี้สิน หรือมีหนังสือคัดค้านจากเจ้าหนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็จะไม่อนุมัติ การจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ได้เช่นกัน
กรณีท่าน ต้องการให้ นาราฯ บริการแบบครบ จบทุกอย่าง ก็สามารถเดินทางไปจังหวัดท่าน และนำยื่นเอกสาร แทนท่านได้ มีค่าบริการ ดังนี้
ค่าบริการ - ปิดบริษัท แบบ ครบจบทุกอย่าง
(กรณีบริษัท ไม่ดำเนินธุรกิจ หรือ งบเปล่า - ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ค่าใช้จ่าย ในการเลิกบริษัท | งบเปล่า + ไม่จด VAT |
ค่าบริการจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี - กรมพัฒนาธุรกิจการค้า | 8,000 |
จัดทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี แบบภาษีที่เกี่ยวข้อง พร้อมนำยื่น - กรมสรรพากร | 4,000 |
ค่าธรรมเนียม และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
|
1,640 |
รวม | 13,640 |
หมายเหตุ
- กรณี ต้องยกเลิกทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คิดค่าบริการเพิ่ม 3,000 บาท เพราะต้องยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม และกระบวนการเลิก ยุ่งยากกว่า
- กรณีที่บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจ หรือประกอบกิจการ ค่าบริการจะประเมินตามความเหมาะสม (ราคาด้านบน สำหรับกิจการ งบเปล่า เท่านั้น)
ขอบเขตบริการ
- ดำเนินการลงโฆษณา ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
- จดทะเบียนเลิก ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร
- จัดทำบัญชี งบการเงิน ตรวจสอบ พร้อมนำยื่น ทั้งกรมพัฒน์ และ กรมสรรพากร
- จดเสร็จชำระบัญชี ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- จดเลิก ภพ.20
- ยื่น ภงด.50 งบเลิก
- เป็นตัวแทนเข้าพบชี้แจงกับกรมสรรพากร และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรณีโดยเรียกให้ชี้แจง (ไม่เกิน 2 ครั้ง)
ระยะเวลา
- ระยะเวลาดำเนินการจนเสร็จชำระบัญชีและยื่นภาษีที่สรรพากร ประมาณ 45 วัน
(กรณีมีปัญหาภาษีที่ท่านไม่ได้แจ้งให้ นาราการบัญชี ทราบตั้งแต่แรก อาจใช้ระยะเวลานานขึ้น)
หมายเหตุ
- งานเลิกบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ถือเป็นงานบริการที่ยากและซับซ้อน อีกทั้งต้องติดต่อกับหลายหน่วยงานราชการ ดังนั้นกิจการ(บริษัท/ห้างหุ้นส่วน) ต้องแจ้งรายละเอียดและประเด็นต่างๆ ให้ นาราฯ ทราบตั้งแต่แรก เพื่อจะได้วางแผนการทำงานร่วมกัน และจะได้ประมาณการเรื่องเวลาและอื่นๆ ให้ถูกต้องที่สุด
เราให้บริการเลิกกิจการมากกว่า 30 รายต่อปี ให้บริการมามากกว่า 10 ปี จึงรับประกันการเป็นมืออาชีพในด้านนี้
ความรู้ – เพิ่มเติม
เลิกบริษัท ตามกฎหมาย แบ่งการเลิก หรือ ปิดบริษัท ออกเป็น 2 ประเภท
- การเลิก ปิดบริษัทโดยผลของกฎหมาย โดยมีอยู่ 5 กรณีย่อย (มาตรา 1236)
- มีกำหนดไว้ในข้อบังคับ
- เมื่อบริษัทตั้งขึ้นโดยกำหนดระยะเวลา
- เมื่อบริษัทตั้งขึ้นเพื่อกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดโดยเฉพาะ
- ที่ประชุมผูัถือหุ้นมี “มติพิเศษ” ให้เลิกบริษัท ตาม มาตรา 1236 (4)
- บริษัทล้มละลาย ตามมาตรา 1236 (5)
- การเลิก ปิดบริษัท โดยคำพิพากษาของศาล ด้วยเหตุ ผู้ถือหุ้น หรือ ผู้มีส่วนได้เสีย ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาพิพากษาให้สั่งเลิกบริษัท ซึ่งการเลิกบริษัท จะมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา มูลเหตุที่ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บริษัทเลิกนั้น มีอยู่ 4 กรณี
- มีการกระทำผิดในการยื่นรายงานการประชุมตั้งบริษัท มาตรา 1237 (1)
- ถ้าบริษัทจดทะเบียนแล้วแต่ไม่ทำกิจการ ภายใน 1 ปี หรือ ทำกิจการแล้วแต่หยุดทำกิจการเกินกว่า 1 ปี
- ถ้าการค้าของบริษัททำไปมีแต่ขาดทุนเพียงอย่างเดียว และไม่มีทางหวังฟื้นตัวได้
- ผู้ถือหุ้นลดจำนวนลง
ชำระบัญชี
ชำระบัญชี หมายถึง การเคลียร์ชัญชีและกิจการของบริษัทให้เรียบร้อย เพื่อจะดูว่าบริษัทมีทรัพย์สินเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด หรือตรวจสอบดูว่าบริษัทเป็นหนี้ใครอยู่บ้างก็จะได้ใช้คืนเขาเสีย เสร็จแล้วเหลือเท่าไหร่ก็เอามาแบ่งคืนให้บรรดาผู้ถือหุ้น
นาราการบัญชี มีประสบการณ์ การปิดบริษัท ชำระบัญชี และ เคลียร์ภาษี กว่า 15 ปี หรือ กว่า 200 ราย ด้านล่างเป็นลูกค้า ที่ นาราฯ ให้บริการปิดบริษัท ระหว่างปี พ.ศ. 2565 และ 2566
บริการ อื่นๆ ที่น่าสนใจ
ผู้ชำระบัญชี เป็นคนอื่น ที่ไม่ใช้ กรรมการ หรือ ผู้ถือหุ้น ได้ไหม หรือต้องโอนหุ้นให้ก่อน แล้วค่อยแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
ถ้าบริษัทฯ ไม่เคยกำหนดไว้ในข้อบังคับ เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี บริษัทสามารถแต่งตั้ง กรรมการ ผู้ถือหุ้น หรือ บุคคลภายนอก เป็นผู้ชำระบัญชีได้ แต่จะต้องให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชี นั้น
ดิฉัน อยากทราบ ระยะเวลา ที่เริ่มต้นจนจบ ที่แน่นอน ว่าจะเสร็จทุกอย่างในระยะเวลาเท่าไหร่ เนื่องจากดิฉันต้องไปเรียนต่อ ต่างประเทศ คะ
ต้องขอ ตอบเป็น 2 กรณี ครับ
- กรณีไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ดำเนินธุรกิจ หรือมีบ้างเล็กน้อย
ปกติ แล้วจะเสร็จภายใน 1 เดือน เนื่องจากการไม่ทำธุรกิจและไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่ถูกเรียกตรวจ หรือ ไม่มีการบล็อคจาก สรรพากร - กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และไม่ดำเนินธุรกิจ หรือ มีบ้างเล็กน้อย
ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ ครับ หากประวัติการยื่นภาษีครบ และไม่เคยมีปัญหา อะไร และไม่ถูกบล็อค เพื่อรอตรวจสอบ ก็จะเสร็จภายใน 1 เดือนเช่นกัน แต่บริษัท ยังคงมีหน้าที่ยื่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.30 ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีจดหมาย แจ้งว่าได้ยกเลิกแล้ว - กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีการดำเนินธุรกิจ แล้ว
จากประสบการณ์ จะถูกบล็อค เพื่อรอตรวจสอบ ส่วนจะได้ตรวจเมื่อไหร่ ก็แล้วแต่คิว ของทีมตรวจ โดยปกติจะเกิน 6 เดือน ครับ แต่ที่ นาราฯ เราวางระบบเรื่องนี้ให้มีการติดตาม เจ้าหน้าที่ ให้จบการตรวจสอบโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการตรวจสอบของสรรพากร ด้วย ว่าบริษัทฯ จะรับได้ไหม หรือต้องเจรจา กันต่อ
ได้ยินมาว่า ควรถือบริษัทไว้ เป็นงบเปล่า - ไม่ดำเนินการ เป็นเวลา 3 ปีก่อน แล้วค่อย จดทะเบียนเลิก จริงไหม
นาราฯ ไม่เห็นด้วยกับ การถือรอ เพราะเป็นภาระ ทั้งค่าใช้จ่ายแล้ว หน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบ
เบื้องต้น ต้องมีการประเมินเบื้องต้น ว่า บริษัทที่จะปิดตัวลง มีภาระ อะไรบ้าง โดยเฉพาะ ภาระทางภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีจากเงินปันผล (หากมีกำไรสะสม)
- หาก ไม่พบความเสี่ยง ที่เป็นสาระสำคัญ หรือแก้ไขไม่ได้ ก็ควรจะปิดทันที ครับ
- ก่อนการปิด หรือ จดทะเบียนเลิก บริษัทฯ ควรตัดบัญชี หรือปรับปรุงบัญชี ต่างๆ ให้เรียบร้อย หรือ เหลือ ทรัพย์สิน หนี้สิน ให้น้อยที่สุด เช่น ตัดจำหน่ายทรัพย์สิน และเสียภาษีที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน และ ชำระหนี้สิน หรือตัดจ่ายหนี้สิน (พิจารณาภาษีที่เกี่ยวข้องด้วย)
- ทำการ ปิดบัญชี ธนาคาร เลิกจ้างพนักงาน จดทะเบียนยกเลิกกองทุนประกันสังคม และ อื่นๆ
สำหรับบริษัท ที่มีความเสี่ยงด้านภาษี แนะนำให้เข้าพบสรรพากร โดยหา ผู้เชี่ยวชาย (ที่มีประสบการณ์) ในการเจรจา เข้าพบทีตรวจสอบ ก่อน จดทะเบียนเลิก - ปิดบริษัท
ต้องมีบัญชี ธนาคาร เหลือไว้ เพื่อขำระค่าใช้จ่าย ต่างๆ หรือไม่
บัญชีธนาคาร อาจเหลือไว้ หรือ ปิดให้หมด ก่อนดำเนินการจดทะเบียนเลิก - ปิดบริษัท ก็ได้ หากประสงค์จะเหลือไว้ ก็ควรเหลือไว้แค่บัญชี เดียวเพื่อสำหรับรอจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เท่านั้น
โดยส่วนตัว นาราฯ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเหลือบัญชีธนาคารไว้ เพราะจะเป็นภาระเรื่องเปลี่ยนอำนาจ จาก เดิมกรรมการบริษัท เป็น ผู้ชำระบัญชี แทน ตอนปิดหลังจากบริษัทได้ชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว แนะนำว่า ให้คงเงินเหลือไว้ กับผู้ชำระบัญชี เป็นเงินสดย่อย ให้เพียงพอกับ ค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือบางกรณี กรรมการ หรือ ผู้ถือหุ้น สามารถจ่ายแทนได้ ก็ไม่เป็นสาระ อะไร
ฉันกำลังวางแผนที่จะย้ายไปต่างประเทศ หากต้องเซ็นต์เอกสาร ต่างๆ สามารถเซ็นต์โดยไม่ต้องกล้บมาไทย ได้ไหม
ถ้าได้มีการเตรียมตัว และวางแผนด้านบัญชี ภาษีและความเสี่ยงต่างๆ แล้ว ก็สามารถทำได้ ปกติแล้ว นาราฯ จะทำงานเป็นระบบ ท่านสามารถเซ็นต์แบบฟอร์มต่างๆ รอไว้ล่วงหน้าได้เลย หากจำเป็นท่าน สามารถปริ้นท์และส่งกลับไทยทางไปรษณีย์ได้เช่นกัน
โดยปกติ นาราฯ สามารถวางแผน ให้เซ็นต์ได้ล่วงหน้า พร้อมระบุวันที่ ต่างๆ ในเอกสาร ไว้ล่วงหน้า ได้เช่นกัน
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
กรณีเร่งด่วน/ หลังเลิกงาน โทร 080 175 2000 คุณ ธนา
Line ID: @nara53 |
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6